ตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน ภาชนะรับแรงดัน ตามความหมายของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม คือ “ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร” ท่านที่อ่านบางคนอาจจะสงสัยกับความหมายที่ต้องตีความกันอีกว่าตกลงอุปกรณ์ที่ใช้อยู่มันต้องตรวจหรือไม่ พิจารณาที่แรงดันและขนาด ก่อนอื่นเราต้องทราบกันก่อนว่าความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลเท่าไรประมาณ 1 บรรยากาศ หรือ 1 atm( atmosphere) หรือเรียกว่า 1 บาร์ (bar)ถ้าอุปกรณ์ที่ต้องตรวจก็ต้องเป็นภาชนะที่ใช้แรงดัน 1.5 bar ขึ้นไปและมีขนาด 103 mm. ส่วนใหญ่ภาชนะรับแรงดันที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถังลมไม่ว่าจะใช้ อากาศ หรือ ไนโตเจน ที่ใช้ในการผลิตก็เข้าข่ายการตรวจ ซึ่งถังพวกนี้มีอายุการใช้งานเนื่องจากการถูกกัดกร่อน การตรวจสอบต้องวัดความหนาถังเพราะเป็นสิ่งชี้บ่งว่ายังสามารถรับแรงดันได้อยู่หรือไม่ คำแนะนำ ควรทำการตรวจสอบทุกๆ 1 ปี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเพราะถังรับแรงดันมักจะทำงานตลอด 24 ชม. ซื่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น safety valve ซึ่งมีหน้าที่ระบายแรงดันในระบบเมื่อมีแรงดันสูงเกินค่าที่ตั้งไว้ คำแนะนำ safety valveควรพิจารณาในการเปลี่ยน ทุกๆ 5 ปี เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีและปลอดภัย งานประเมินอายุท่อรับแรงดัน ในอาคาร หรือโรงงาน เช่นโรงแรมมีการใช้งานท่องานระบบภายในอาคารมาเป็นเวลา 30 ปี แล้ว เพื่อทราบถึงอายุการใช้งาน ที่ปลอดภัยว่าสามารถรับแรงดันตามการใช้งานจริง โดยมีการคำนวณความดันต่ำสุดที่ท่อสามารถรับแรงดันได้ MAWP (maximum allowable working pressure ว่าสามารถทนกับแรงดันใช้งานจริงได้หรือไม่ กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับภาชนะรับแรงดัน กฎกระทรวง กำหนดความปลอดภัยเกี๋ยวกับหม้อน้ำและภาชนะรับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. 2549กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนิการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย เกี่ยวกับเครื่องจักรปั่นจั่น และ หม้อน้ำ พ.ศ. 2564 รับตรวจสอบถังลม รับตรวจสอบภาชะรับแรงดัน รับตรวจสอบถังรับแรงดัน ทดสอบ Savety Valve ทดสอบภาชนะรับแรงดัน โดยวิธี Hydrostatic test รับตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน พร้อมออกใบรับรองโดย สามัญวิศวกร รับตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน พร้อมออกใบรับรองโดย สามัญวิศวกร