บริษัท พีเอส บิลดิ้งเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  บริการตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ตรวจสอบอาคารประจำปี และรับรองตามกฏหมายกำหนด ‎โดยทีมวิศวกรของเราทมีชำนาญ และมีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบอาคาร มากว่า 10 ปี  และตรวจสอบด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย หรือเรียกว่า Double check เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยที่สุด

เมื่อมีการประกาศกฎกระทรวงที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 32 ทวิ(3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัควบคุมอาคาร(ฉบับที่3) พ.ศ.2543 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2548 ผู้ประกอบการหลายรายยังไม่ทราบถึงรายละเอียดในการดำ เนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงมีคำ ถามมากมายที่ผู้ประกอบการหลายท่านอยากรู้ เช่น อาคารประเภทไหนบ้างที่ต้องทำการตรวจสอบอาคาร ,ทำไมต้องตรวจสอบอาคาร ใครคือผู้ตรวจสอบอาคาร,ตรวจอะไรบ้าง ให้เวลาในการดำเนินการถึงเมื่อไร ,ตรวจสอบแล้วต้องตรวจสอบอีกหรือไม่ ฯลฯ

อาคารประเภทใดบ้างที่ต้องตรวจ?

ในเบื้องต้นผู้ประกอบการควรทราบถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย ประเภทของอาคารที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ คือเป็นอาคารที่การก่อสร้างได้
ดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองตามมาตรา 32 มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี จำนวน 9 ประเภท ดังนี้

1.อาคารสูง ตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป

2.อาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตรม.

3.อาคารชุมนุมคน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตรม. หรือ ชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

4.โรงมหรสพ

5.โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตัั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

6.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มี พื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตรขึ้นไป

7. อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือ อาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่2,000ตรม.ขึ้นไป

8.อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มี ความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตรม.ขึ้นไป

9.ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูง จากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ ตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือ ตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตรม.ขึ้นไป

ทำไมต้องตรวจสอบ?

หลายคนถามว่า อาคารก็ออกแบบมาดีแล้ว และได้ขออนุญาตก่อสร้างที่ถูกต้องทำไมจะต้องมีการตรวจสอบอาคารอีก วัตถุประสงค์หลักของการตรวจสอบอาคารเนื่องมาจากอาคารหลายแห่งมีภาวะไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานอาคาร โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้งานอาคารจำนวนมาก ในอดีตที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานอาคารหลายต่อหลายครั้ง โดยสาเหตุหลักมาจากการขาดการตรวจสอบดูแลและขาดความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา เช่น กรณีไฟไหม้โรงแรม รอยัลจอมเทียนมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคน หรือกรณีโรงงานผลิตตุ๊กตา เคเดอร์ เกิดเหตุเพลิงไหม้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยเช่นกัน ดังนั้นขอบเขตการตรวจสอบตามกฎหมายจึงมุ่งเน้นที่ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานอาคารเป็นหลัก

ขอบเขตของการตรวจสอบอาคาร

กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับหลายคนยังเข้าใจว่าการตรวจสอบอาคาร  คือการจับผิดการก่อสร้างอาคาร ซึ่งแท้จริงแล้วกฎหมายมุ่งเน้นที่การจัดให้มีการสำรวจตรวจตราเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร โดยเฉพาะมุ่งเน้นไปที่อาคารสาธารณะเป็นหลัก การก่อสร้างอาคารที่ผิดแบบหรือมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร แต่มีความปลอดภัยผู้ตรวจสอบอาคารก็ไม่มีหน้าที่จะต้องรายงานในการตรวจสอบอาคารเว้นเสียแต่ว่าการดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานอาคาร ทั้งนี้ในการตรวจสอบอาคารกฎหมายได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงส่วนสำคัญต่างๆดังนี้

1.  การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ประกอบด้วย
(ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
(ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
(ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร(ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร   
การตรวจสอบจะมุ่งเน้นที่ความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารเป็นสำคัญ

2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ประกอบด้วย
(ก) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
• ระบบลิฟต์
• ระบบบันไดเลื่อน
• ระบบไฟฟ้า
• ระบบปรับอากาศ
การตรวจสอบมุ่งเน้น
(ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
• ระบบประปา
• ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
• ระบบระบายน้ำฝน
• ระบบจัดการมูลฝอย
• ระบบระบายอากาศ
• ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
(ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
• บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
• เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
• ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
• ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
• ระบบลิฟต์ดับเพลิง
• ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
• ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
• ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
• ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
• ระบบป้องกันฟ้าผ่า
เป็นการตรวจสอบที่มุ่งเน้นการตรวจประเมินความสามารถในการทำงานของ
ระบบและการมีระบบการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เหมาะสมภายในอาคา

3. การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคารประกอบไปด้วย
(ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(ค) สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้
เป็นการตรวจสอบที่มุ่งเน้นการตรวจสอบเส้นทางการหนีไฟ และ ระบบสนับสนุนการหนีไฟเพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารมีความปลอดภัยเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ในอาคาร

4.การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ประกอบด้วย
(ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
(ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
(ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
(ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
เป็นการตรวจสอบที่มุ่งเน้นตรวจสอบประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะต้องจัดให้มีการซ้อมหนีไฟทุกปี