เชื้อเพลิงชีวภาพ (BIOFUEL)

ตรวจพลังงาน  > Uncategorized >  เชื้อเพลิงชีวภาพ (BIOFUEL)
| | 0 Comments

เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)

ในที่นี้จะกล่าวเน้นเกี่ยวกับการนำสารชีวมวล (Biomass) มาผลิตเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
ที่สามารถใช้ทดแทนหรือผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuels) เพื่อลดหรือทดแทนการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่การใช้กันมากในปัจจุบัน

เชื้อเพลิงชีวภาพคืออะไร ?


เชื้อเพลิงชีวภาพ คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากสารอินทรีย์โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพนี้ในการผลิตกำลังเพื่อใช้ในงานต่าง ๆ โดยระยะเวลาในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพนี้จะใช้เวลาการผลิตที่ในช่วงสั้น ๆ (เป็นวัน, อาทิตย์ หรือ เป็นเดือน)
ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งใช้เวลาหลายล้านปีในการแปลสภาพ (EFFICIENT, 2015) นอกจากนี้เราอาจจะพิจารณาว่าชีวมวลใดสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้จากส่วนประกอบของชีวมวลนั้น ๆ ซึ่งชีวมวลที่สามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงชนิดนี้ได้นั้นต้องมีส่วนประกอบของชีวมวลประมาณ 80 %
โดยมวลที่สามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้ (AENews, 2015)

วัตถุดิบของการแปรรูปก๊าซชีวภาพ

ชีวมวลที่นำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้นั้นสามารถแบ่งออกเป็น สามรุ่น (Three generations) ได้แก่ ชีวมวลรุ่นที่หนึ่ง (First generation)
ที่ถูกนำมาแปรรูปได้แก่พวกน้ำตาลและแป้ง (Sugar and starch), ชีวมวลรุ่นที่สอง (Second generation)
ได้แก่ วัตถุดิบที่ประกอบด้วยลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulosic Material) และ ชีวมวลรุ่นที่สาม (Third generation)
ได้แก่ สาหร่ายขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (micro and macro algae) (Dragon et al., 2010)

ชีวมวลรุ่นที่หนึ่ง (First generation) เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตร (Agricultural feedstock)
เช่น น้ำตาล และมันสำปะหลัง มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งผลกระทบจากการนำพืชผลทางการเกษตรมาผลิตนี้คือราคาต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งเกิดจากราคาอาหารทั่วโลกที่สูงขึ้นและสภาวะขาดแคลนอาหาร      นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อปลูกพืชทางการเกษตรชนิดนี้ได้แก่ การกัดกร่อนของหน้าดิน, การเสียสมดุลของระบบนิเวศน์ และปัญหาการปล่อยก๊าซ NOx เป็นต้น (Mussatto et al, 2010)

มันสำปะหลัง

ชีวมวลรุ่นที่สอง (Second generation) เป็นการนำส่วนที่เหลือทางการเกษตร (Agricultural residues)
เช่น ฟางข้าว, ชานอ้อย และขี้เลื่อยหรือเปลือกไม้จากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เป็นต้น การแปรรูปชีวมวลรุ่นนี้ต้องใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการปรับสภาพเซลลูโลส (Pre-treatment process)  เพื่อปรับสภาพโครงสร้างเซลลูโลสในชีวมวลให้เหมาะสม และกระบวนการสลายเซลลูโลส (Hydrolysis process) เพื่อเปลี่ยนเซลลูโลสเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีต้นทุนการผลิตที่สูง ซึ่งไม่เหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์เมื่อนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพในปริมาณมาก ๆ
(Large scale) (Dragon et al., 2010)

ขานอ้อย

ชีวมวลรุ่นที่สาม (Third generation) ในรุ่นนี้มีได้นำสาหร่ายขนาดเล็กและขนาดใหญ่ (micro and macro algae) มาสกัดและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เนื่องจากข้อดีด้านต่าง ๆ ของสาหร่ายที่เหมาะสำหรับนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ใช้พื้นที่น้อยในการเพาะเลี้ยงเมื่อเทียบกับชีวมวลรุ่นอื่น ๆ, มีความสามารถในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้สูง (High productivity)  และ สาหร่ายเหล่านี้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้ดีทำให้สามารรถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ (reducing CO2 emission)  แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาทางด้านเทคโนโลยีและลักษณะเฉพาะของสาหร่ายต่าง ๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการผลิตเชื้อเพลิงจากสาหร่ายในเชิงพาณิชย์ (Dragon et al., 2010) ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเพื่อศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายให้ใช้ได้จริงในอนาคต

ชนิดของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel types)
ชนิดของเชื้อเพลิงชีวภาพจะแบ่งตามโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการแปรรูปชีวมวลมาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเชื้อเพลิงชีวภาพส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของของเหลวเพื่อความสะดวกในการขนส่ง ชนิดของเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีการใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
มีทั้งหมด 4 ชนิดได้แก่ Ethanol, Biodiesel, Methanol และ Biobutanol

อ้างอิง
AENews. (2015). BIOFUELS. Retrieved from http://www.alternative-energy-news.info/: http://www.alternative-energy-news.info/technology/biofuels/

EFFICIENT, B. E. (2015). BIOFUEL. Retrieved from Biofuel.org.uk: http://biofuel.org.uk/

Marchese, A. (2011). Measurement of Direct Nitrous Oxide Emissions from Microalgae Cultivation. Retrieved from http://www.engr.colostate.edu/: http://www.engr.colostate.edu/~marchese/algae-n2o.html

ฟาร์มเกษตร. (2015). การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังตั้งแต่เริ่มปลูก. Retrieved from farm-kaset.com: http://www.farm-kaset.com

ศรีษะแก้ว, ล. (2011). บ้านสวนพอเพียง. Retrieved from http://www.bansuanporpeang.com/: http://www.bansuanporpeang.com/node/15846

Dragone G., Fernandes B., Vicente A.A., Teixeira J.A., (2010). Third generation biofuels from microalgae. Technology and education topics in applied microbiology and microbial biotechnology.

Mussatto S.I., Dragone G., Guimaraes P.M.R., Silva J.P.A., Carneiro L.M., Roberto I.C., Vicente A., Domingues L., Teixeira J.A. (2010). Technological trends, global market, and challenges of bio-ethanol production. Biotechnology advances, 28, 817830.

McKendry, P. (2002). Energy Production from Biomass (part 2): Conversion Technologies. Bioresource Technology, 83, 47-54.

Charles, Y., & Wereko-Brobby, E.B.H. (1996).Biomass Conversion and Technology. John Wiley & Sons. England.

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ

Home 2021

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Cresta Social Messenger
error: Content is protected !!